ค้นเจอสิ่งที่บันทึกไว้ในบลอกของศูนย์แพทย์ http://cmuprunai.exteen.com/
1 เริ่มเรื่องเล่า
2007/Jan/18 small is beautiful-ระบบสุขภาพชุมชนในภาพฝัน
สถานีอนามัยตำบลพรุในแต่เดิม เมื่อได้รับการเพิ่มศักยภาพเป็นโรงพยาบาลเกาะยาว สาขาพรุใน เมื่อปี 2545 เพื่อดูแลชุมชนชาวเกาะยาวใหญ่ 10,000 คนเศษ การเพิ่มศักยภาพนี้คือ รับสมัครแพทย์ลงมาอยู่ประจำ และให้สถานบริการใหม่นี้มีอำนาจการบริหารจัดการตัวเองให้มีความคล่องตัว สอดคล้องกับปรัชญา เล็กแต่งดงาม หรือ small is beautiful ตามหลักคิดของอี เอฟ ชูมากเกอร์(ผู้เขียนหนังสือเศรษฐศาสตร์เชิงพุทธ)-นักเศรษฐศาสตร์กระแสรอง
แนวคิดระบบสุขภาพชุมชนของโรงพยาบาลสาขาฯ ระยะแรก คือ เป็นหน่วยบริการเบ็ดเสร็จ คือเป็นทั้งหน่วยบริกาปฐมภูมิ และรับส่งต่อผู้ป่วยมาจาก PCU ใกล้เคียงอีก 2 PCU ให้บริการผู้ป่วยนอก รับผู้ป่วยในนอนในward และทำงานสร้างสุขภาพเชิงรุก ปัญหาอุปสรรค ในระยะนั้น คือ เจ้าหน้าที่ในทีมสุขภาพมีน้อย คือ แทพย์ 1 คน พยาบาลเวชปฏิบัติครอบครัวหนึ่งคน พยาบาลเวชปฏิบัติทั่วไป 2 คน พยาบาลวิชาชีพ 1 คน เจ้าหน้าที่สาธารสุขอีก 2 คนและ บริหาร 1 คน
เราอยู่กัน 8 คนเท่านั้น แต่ทำงานเหมือนโรงพยาบาลทุกอย่าง และทำหน้าที่เพิ่มจากข้อด้อยของโรงพยาบาลคือ เราทำงานเชิงรุกในชุมชนอย่างใกล้ชิดอีกด้วยทีมสุขภาพทุกคนต้องรับผิดชอบหมู่บ้านคนละ 1 หมู่บ้าน ปัญหาคือ เมื่อเราเน้นบริการรักษาทั้งเช้าและบ่ายคนที่ลงไปทำงานในหมู่บ้านจึงจัดสรรได้น้อยกว่าที่ควร เพราะทีมเยี่ยมบ้านในระบบเช่นนี้ มี 2 คนเท่านั้น คือพยาบาลเวชฯครอบครัว และ พยาบาลเวชปฏิบัติทำหน้าที่ได้แค่เยี่ยมหลังคลอด เยี่ยมผู้ป่วยเรื้อรัง ส่วนการลงชุมชนแบบสหวิชาชีพ นั้น เราต้องออกกันนอกเวลาราชการ (โดยไม่มีค่าตอบแทนเพิ่ม-แต่ความผูกพันกับชุมชนดึงเราลงไปหา ลงไปนอกเวลาราชการ เพราะเวลานั้นคือเวลาของชาวชุมชน
บทบาทเช่นนี้ช่วยแก้ปัญหาในมิติอื่นๆ ให้กับผู้ป่วยและชุมชน ผลคือเราเรียนรู้ชุมชนมากขึ้น เรียนรู้ที่จะใช้ข้อมูลจากชุมชนมาเป็นฐานคิด และผลที่ได้กลับมาถือเป็นต้นทุนของการสร้างสุขภาพ คือ ความใกล้ชิด และความไว้เนื้อเชื่อใจที่ชาวชุมชนมีให้เราเราจึงสามารถใช้ทั้งทรัพยากรของเราเองและหน่วยงานอื่นเข้ามาช่วยท่ามกลางบุคลากรที่จำกัด งบประมาณที่กำจัด เราก็ดุ่มเดินกันต่อไป เราจะทำบทบาทนี้ให้ต่อเนื่องยั่งยืนได้อย่างไร การจัดระบบสุขภาพชุมชน ภายใต้ศูนย์แพทย์ชุมชนอาจเป็นคำตอบ
2.ต้นทุนของชุมชน
การจัดระบบสุขภาพชุมชน ภายใต้ศูนย์แพทย์ชุมชนอาจเป็นคำตอบ แต่คำตอบเป็นเช่นไรขอพักไว้ก่อนเราจะเริ่มต้นทางไปสู่ภาพฝันของทีมสุขภาพที่นี่
“ต้นทุนของชุมชน”
สำหรับแพทย์คนหนึ่ง ที่ทำงานร่วมกับทีมสุขภาพอยูในชุมชนอย่างต่อเนื่อง 3 ปีเศษ นอกจากได้เรียนรู้ผู้คน วิถีชุมชน ได้ทำในสิ่งที่ตัวเองรักและเชื่อมั่น สิ่งเหล่านี้แลกอะไรมาได้บ้าง คงกล่าวได้ว่า สิ่งที่แพทย์และทีมสุขภาพได้รับคือต้นทุนทางสังคม และกล่าวอย่างเป็นรูปธรรมนั่นคือสิ่งเหล่านี้
-งบต่อเติมอาคารชั้นล่างของแปลนสถานีอนามัยเดิม คือเงินที่ชาวบ้านจัดงานเพื่อรับบริจาคมาให้ร่วมกับเงินบริจาคมูลินิธิดีซีสู่อันดามัน ที่ทีมสุขภาพนำลงพื้นที่มาช่วยชาวบ้านหลังสึนามิทีมงานของมูลนิธิคงเห็นถึงความตั้งใจของเราและชาวบ้าน ในการพัฒนาสถานพยาบาลของตัวเองจึงบริจาคเงินให้ส่วนหนึ่งโดยกายภาพของสถานบริการจึงสะดวกและมีมาตรฐานมากขึ้น-หลังจากนั้น ชาวบ้านยังจัดงานประเพณีของชุมชนงานหนึ่งเพื่อรับบริจาค นำเงินมาปรับปรุง โรงพยาบาลๆ ทุกๆปี
-ได้รับบริจาคเรือไม้โดยสารขนาดใหญ่มาดัดแปลงเพื่อใช้ส่งต่อผู้ป่วย
และยังมีสายใยอื่นๆที่มองไม่เห็นยึดโยงเราเข้ากับชุมชน เป็นทุนทางสังคมที่ไม่อาจประเมินค่า
3. นับหนึ่งที่ศูนย์แพทย์ แต่สำหรับถนนสายสุขภาพชุมชนเราเดินมาแล้ว
“โรงพยาบาลเถื่อน”คือคำพูดของบางคนที่พูดถึงแนวคิด สภาพการทำงานของเรา เพียงแค่เราไม่มีชื่อเรียกในทะเบียนโรงพยาบาล หรือโรงพยาบาลสาขาของกระทรวงฯ มีแต่คำสั่งจากผู้ว่าราชการจังหวัด โดยความคิดริเริ่ม-นอกกรอบของ นพ.ภูมิวิชช์ ขวัญเมืองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดในขณะนั้น ให้เราเป็นโมเดล หรือรูปแบบการแก้ปัญหาการขาดแคลนแพทย์ในพื้นที่กันดารให้กับประชาชน เนื่องจากโรงพยาบาลชุมชนของอำเภอเกาะยาวตั้งอยู่ห่างไกลจากชุมชนชาวเกาะยาวใหญ่ คืออยู่ที่เกาะยาวน้อย ต้องข้ามเกาะไปอีกฝั่งด้วยเส้นทางรถที่ยากลำบาก ยังต้องต่อเรือข้ามฟากซ้ำในบางฤดูกาล เช่นช่วงมรสุม หรือแม้กระทั่งเวลากลางคืน ประชาชนเข้าถึงบริการได้ยากมาก และเกิดความไม่เท่าเทียม เนื่องจากมีจำนวนประชากรบนเกาะยาวน้อยอยุ่เพียงครึ่งหนึ่ง เมื่อเทียบกับจำนวนชาวเกาะยาวใหญ่
เมื่อกลไกข้างบนเอื้ออำนวย แพทย์คนหนึ่งสามารถเข้ามาอยู่ที่นี่-เกาะยาวใหญ่ ตามรุปแบบที่วางไว้เพื่อชาวชุมชน
เมื่อมีแพทย์ประจำอยู่เป็นส่วนหนึ่งของทีมสุขภาพตั้งแต่เริ่ม ที่นี่ จะเป็นสถานีอนามัย ศูนย์สุขภาพชุมชน โรงพยาบาลสาขาฯ โรงพยาบาลเถื่อน หรือศูนย์แพทย์ เราก็ยังดุ่มเดินต่อไปตามเส้นทางที่เราผ่านมา เพราะเราคือทีมที่ร่วมทำงานเพื่อสุขภาพชุมชนไม่เปลี่ยนแปลง
4.ศูนย์แพทย์-ภาพฝัน
ในเส้นทางมีเราเริ่มเดินมา เข้าสู่ปีที่4 พบกับความเปลี่ยนแปลงคือ คำว่า ศูนย์แพทย์ชุมชน และคำนี้ทำให้ถนนที่เราจะเดินไปกันต่อราบรื่น อย่างมีความหวัง (อย่างน้อยก็ช่วงเวลาที่ สปสช ยังสนับสนุนการบริหารจัดการอยู่)
เนื่องจากเรามีแพทย์ตั้งแต่ก่อนการจัดการแบบศูนย์แพทย์ ค่าบริหารจัดการ จึงไม่ได้นำไปเป็นค่าชักจูงให้แพทย์อยู่ใหม่ แต่นำมาค่าตอบแทนในตำแหน่งที่ขาดอยู่ในทีมสุขภาพ ด้วยระบบการจัดการนี้ เอื้อให้เรามีเพื่อนร่วมทีมมากขึ้นเจ้าหน้าที่ในทีมสุขภาพ ที่เดิมทำหน้าที่อื่นๆ ด้วย เช่น
-ค้นแฟ้มครอบครัว
-ทำงานในห้องยา ทำหน้าที่เป็นเภสัชกร
จะมีคนมาทำหน้าที่แทน คือ ผู้ทำหน้าที่ที่เวชระเบียน แผนกจ่ายยา
เพื่อที่เราจะมีทีมสุขภาพลงไปทำงานเชิงรุกในชุมชนมากขึ้น ครบและตรงตามภาระงานที่แต่ละคนรับผิดชอบหมู่บ้านแต่ละหมู่ ทั้งในและนอกเวลาราชการตามความเหมาะสมของวิถีชุมชน
(ระบบศูนย์แพทย์สามารถมีเงินจ่ายค่าตอบแทนนอกเวลาราชการเป็นขวัญและกำลังใจทีมสุขภาพได้อย่างเป็นรูปธรรม)
เราจะมี
+ อสม ที่ผ่านการอบรบแพทย์แผนไทย (และเสริมกายภาพบำบัด)
ลงไปทำงานเชิงบริการในหมู่บ้านร่วมกับทีมสุขภาพ
+นักจิตวิทยาคลินิคและชุมชนทำหน้าที่เสริมให้การบริการของเราเป็นองค์รวมมากขึ้น
ทั้งในศูนย์ และในชุมชน
+ นักทำงานเชิงสังคม จากทีมอบต ลงไปชุมชนด้วยกันเพื่อนร่วมทีมใหม่ๆ นี้ จะเป็นหนึ่งในทีมสุขภาพของเรา
เล็กๆ ทว่าเป็นจริง เล็กๆ ทว่างดงามเพราะว่านี่คือเส้นทางของเรา
2007/Jan/18 นวตกรรม จากแนวคิดสู่การลงมือทำจริง 1
จากแนวคิดนำไปสู่การปฏิบัติ
จากเส้นทางเดินที่ผ่านมา การทำงานในหน่วย primary health care ทำงานสร้างสุขภาพในความขลาดแคลนตลอด แม้ว่าจะมีแนวคิดต่างๆ ในระบบมากมาย รวมถึงการสร้างมาตรฐานการบริการของหน่วยบริการใกล้บ้านใกล้ใจแต่ด้วยความกำจัดของบุคลากร (ที่ไม่เป็นจริงตามGIS) ความขาดแคลนงบประมาณ(ที่ระบบด้านบนเทไปที่การซ่อมสุขภาพ)ทำให้แนวคิดสถานบริการใกล้บ้าน ใกล้ใจ ไม่เป็นไปตามที่คาดหวัง
อาศัยการบริหารจัดการของศูนย์แพทย์ชุมชน งบประมาณ 50,000 บาทต่อเดือน(หรือ 600,000 บาทต่อปี) สามารถจัดสรรทรัพยากรเติมลงไปในความขาดของระบบสุขภาพชุมชนได้
1) ระบบการสร้างสุขภาพแบบผสมผสาน และเป็นองค์รวมเชิงรุกในชุมชน
อาศัยการทำงานชุมชนโดยทีมสหวิชาชีพ[แพทย์ เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบหมู่บ้าน พยาบาล นักวิชาการ] เป็นทีมสุขภาพหลักร่วมกับนักกายภาพบำบัด (หรือแพทย์แผนไทย) นักจิตวิทยาคลินิกและชุมชน และสังคมสงเคราะห์จากท้องถิ่น หรือตัวแทนครูแนะแนว อาสาสมัครต่างๆ รวมกันเป็นหนึ่งทีมสุขภาพ เพื่อทำงานสร้างสุขภาพ ฟื้นฟู ป้องกัน ส่งเสริมสุขภาพในเชิงรุก
[procedure]แพทย์และทีมสุขภาพหลัก จะทำหน้าที่เป็นผู้ประสาน และจัดทีมลงชุมชนตามความเหมาะสม[ key ]1.ใช้งบบริการจัดการ จ้างนักกายภาพบำบัด (หรืออสม แพทย์แผนไทยที่เสริมศักยภาพด้านกายภาพบำบัด) นักจิตวิทยาคลินิกและชุมชน มาทำงานในศูนย์2.ใช้งบบริหารจัดการ เป็นค่าตอบแทนทีมสุขภาพ และเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานอื่นๆ เมื่อมีการทำงานนอกเวลาราชการ
นวตกรรมจากกรอบความคิดข้างต้น*1. ระบบดูแลผู้ป่วยเรื้อรังเสริมการฟื้นฟูสุขภาพ โดยมีทีมสุขภาพทำกายภาพบำบัดในชุมชน2.ระบบดูแลสุขภาพจิตของผุ้ป่วยแบบองค์รวม และต่อเนื่องในชุมชนโดยมีทีมสุขภาพลงดูแลสุขภาพจิตในชุมชน ต่อเนื่องจากการให้บริการของบริการหลัก3. ระบบดูแลสุขภาพผู้ด้อยโอกาส (ผู้สูงอายุที่ไร้ผู้ดูแล คนพิการ กลุ่มผู้มีรายได้น้อย) เน้นการใช้ทรัพยากรของท้องถิ่น ร่วมกับการทำงานเชิงสังคมในหลากมิติ
(* กล่าวตามความเป็นจริง อาจไม่ได้เรียกว่านวตกรรม เนื่องจากเป็นแนวคิดของการบริการแบบใกล้บ้าน ใกล้ใจอยู่แล้ว เพียงแต่ใช้โอกาสที่มีงบประมาณเติมเข้ามาบริหารจัดการให้เป็นรุปธรรมมากขึ้น)
2.) ระบบการให้บริการในศูนย์แพทย์ชุมชน2.1 ระบบ 4*4*4จะเพิ่มคุณภาพในการบริการอย่างเป็นรูปธรรมคือผู้ป่วยจะพบกับผู้ให้บริการ 4 คน ใน 4 จุด 1 หมอด่านหน้า (ผู้กรองผู้ป่วย)2.หมอ(หู)ฟัง(แพทย์ ให้การรักษา และscreen ผู้ป่วยประเภทซับซ้อน เพื่อการรักษาต่อเนื่องที่บ้าน)3.หมอยา(ผู้จัดยาและคำอธิบาย)4.หมอพูด (ผู้จัดคำอธิบายสิ่งทียังสงสัย ให้คำแนะนำตามแต่กรณีและบุคคล นัดหมายติดตาม และrecheck ยา)ผู้ให้บริการแต่ละจุดเน้นการสื่อสารกับผู้ป่วยและญาติ 4 ข้อตามหลักเวชศาสตร์ครอบครัวคือ1.Feeling2.Idea3.Fuction4.Expectationเวลา 16.00 น ( 4 โมงเย็น)ประชุมทีมสุขภาพ เพื่อเลือกผู้ป่วยที่ควรติดตามต่อเนื่อง วางแผนการเยี่ยมบ้าน
[ key ]การเพิ่มบุคคลากรทำหน้าที่ค้นบัตร และผู้ช่วยที่ห้องยา ทำให้พยาบาลไม่ต้องไปทำหน้าที่เหล่านั้นสามารถเพิ่มคุณภาพงานในระบบได้
2.2 ระบบการดูแลผู้ป่วยเรื้อรัง กรณีทำก่อนคือ เบาหวาน และนำไปสู่การเรียนรู้เพื่อสร้างระบบดูแลโรคอื่นๆ คือ
1. การเชื่อมการบริการในศูนย์บริการไปสู่การให้บริการในชุมชนโดยสหวิชาชีพ( ในข้อ 1)2.การสร้างมาตรฐานการดูแลผู้ป่วย ให้เหมือนกันทั้งเครือข่าย (CMU และ PCUในเกาะ)ทว่าพอเพียง โดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ การวิจัยเฉพาะชุมชนนั้นๆ มากกว่าใช้แนวทางของผู้เชียวชาญแบบเหมารวม
[key]1. การทำวิจัยในชุมชนโดยศุนย์แพทย์ 2 ใช้งบบริหารจัดการของศูนย์แพทย์เป็นค่าตอบแทนแก่จักษุแพทย์ที่มาคัดกรองภาวะแทรกซ้อนทางตา รวมทั้งเจ้าหน้าที่ lab ตาม man-day
2.3 ward ใกล้บ้านใกล้ใจศูนย์บริการprimacy care ที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกล ธุรกันดารเนื่องจากมีแพทย์อยู่ประจำเช่นที่นี่มีการจัดบริการกึ่งทุติยภูมิได้ด้วยการรับผู้ป่วยนอนโรงพยาบาล เน้นการบริการด้วยแนวคิดเวชศาสตร์ครอบครัวคือใกล้บ้าน ใกล้ใจคือไม่เน้นการรักษาโรคซับซ้อน แต่เชี่ยวชาญในการดูแลผู้ป่วยเรื้อรัง ผู้สูงอายุ และผู้ป่วยระยะสุดท้าย
[key]
จัดบริการให้เหมือนผู้ป่วยอยู่ที่บ้าน คือมีญาติใกล้ชิดอบอุ่น ยกเว้นระเบียบบางอย่างที่ไม่เอื้ออำนวยให้ผู้ป่วยและญาติมิตร รวมถึงอำนวยความสะดวกให้ทำตามความเชื่อ ขนบ ประเพณีที่ไม่ขัดต่อการรักษาสุขภาพ
2009/Apr/22 ศูนย์ไตเทียมในบ้านถึงโรงพยาบาล5เตียง
ศูนย์ไตเทียมในบ้านถึงโรงพยาบาล5เตียง ป๊ะดลหว้าหาบ ปลูกพืช เดิมเป็นโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวานเรื้อรังมานาน ต่อมาเกิดโรคแทรกซ้อนคือโรคไตวาย เมื่อเดือนเมษยน ปี 2549 โดยทางศูนย์แพทย์ส่งตัวไปรพ.วชิระภูเก็ต ผู้ป่วยต้องรับการฟอกเลือดทุกสัปดาห์ แต่ที่ศูนย์ไตเทียม รพ.วชิระ เตียงเต็มไม่สามารถทำการล้างไตได้ ผู้ป่วยจึงต้องไปทำการฟอกเลือดที่ รพ.เอกชน ทำให้มีค่าใช้จ่ายมาก ตลอดระยะเวลา2ปีนั้น ครอบครัวต้องสูญเงินรวมถึง 800,000 บาท ทางศูนย์แพทย์ทราบว่าผู้ป่วยมีภาระค่าใช้จ่ายมาก เมื่อเดือนเมษายน 2550 จึงได้ประสานงานให้ไปรับการฟอกเลือดที่ รพ พังงา ผ่านทางมูลนิธิ พอสว. เพื่อลดภาระค่าใช้จ่าย แต่ผู้ป่วยไม่สะดวกในการเดินทาง ต่อมา รพ.วชิระ ได้ทำการล้างไตทางหน้าท้อง (CAPD) และส่งตัวผู้ป่วยกลับมาให้ทางศูนย์แทพย์ดูแลต่อในชุมชน การล้างไตทางหน้าท้องผู้ป่วยสามารถทำได้เองที่บ้าน วันละ 4 รอบ โดยทางรพ.วชิระส่งนำ้ยามาให้โดยผู้ป่วยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมอีก ผู้ป่วยมาฉีดยาเพิ่มเม็ดเลือดที่ศูนย์แพทย์ชุมชน สัปดาห์ละ 1 ครั้ง ตั้งแต่เดือนเมษายน 2551 นอกจากการดูแลของศูนย์แพทย์ ผู้ป่วยจะได้รับการวัดความดันโลหิต จากอสม.ใกล้บ้านด้วยความสะดวก การทำการล้างไตทางหน้าท้องที่บ้าน การสามารถดูแลผู้ป่วยในชุมชน สามารถลดภาระค่าใช้จ่ายให้กับผู้ป่วยได้ ทำให้ผู้ป่วยลดความเครียดและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ปัจจุบันนายดลหว้าหาบ ใช้ชีวิตเกือบเป็นปกติสุข สามารถเดินทางไปละหมาดที่มัสยิดใกล้ๆบ้านวันละ 5 ครั้ง แม้จะเจ็บป่วยด้วยโรคไตวายระยะสุดท้าย แต่ไม่ได้หมายความว่าผู้ป่วยจะหมดสิ้นความหวังไปด้วย ใกล้บ้าน ใกล้ใจ และเมื่อญาติกลายเป็นหมอ
มะหิ้นดล ปลูกไม้ดี เดิมเป็นโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวานมานาน รับการดูแลรักษาจากศูนย์แพทย์ชุมชนมาโดยตลอด ต่อมามะหิ้นดล ในวัย72 เป็นโรคเส้นเลือดในสมองตีบ เมื่อเดือนธันวาคม 2551 (อัมพาตซีกขวา พูดไม่ได้ ต้องนอนกับเตียงตลอด ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ ) ต้องได้รับอาหารบดทางสายยาง และใส่สายสวนปัสสาวะคาท่อปัสสาวะ การดูแลผู้สูงอายุที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ ถือเป็นวิกฤตของครอบครัวของผู้ป่วย สำหรับครอบครัวเดี่ยวในเมืองใหญ่ คงต้องส่งผู้ป่วยไปไว้ในสถานบริการเฉพาะ แต่นั่นไม่ใช่ข้อจำกัดของชุมชนในเกาะยาว เพราะมีบรรดาลูกหลานพร้อมหน้าพร้อมตา ตั้งบ้านเรือนใกล้ชิดกัน ในกรณีมะหิ้นดล ญาติจะผลัดเวรเปลี่ยนหมุนมาดูแล วันละ 2 คน ทุกคนกลายมาเป็นหมอดูแลผู้ป่วย สามารถทำอาหารสำหรับให้ทางสายยางได้ สามารถทำกายภายภาพบำบัดให้กับผู้ป่วยได้ ทางศูนย์แพทย์จะมาเยี่ยมบ้าน และให้คำปรึกษากับญาติผู้ดูแลเป็นระยะ โดยรับคำปรึกษาจากนักโภชนาการจากรพ.วชิระภูเก็ตเรื่องการให้อาหารทางสายยาง เพื่อให้ผู้ป่วยและญาติผู้ดูแลมีคุณภาพชีวิตที่ดีที่สุดทางศูนย์แพทย์จะออกเยี่ยมบ้านผู้ป่วยเรื้อรังเช่นนี้เป็นประจำทุกสัปดาห์ ในบ่ายวันพุธ พฤหัส และศุกร์ ในฐานะหน่วยบริการใกล้บ้านใกล้ใจการสามารถดูแลผู้ป่วยของญาติที่พร้อมหน้าพร้อมตากันในชุมชน ถือเป็นต้นทุนทางสังคมที่มีค่ายิ่งในการดูแลผู้ป่วยในชุมชนของศูนย์แพทย์เครือข่ายมิตรภาพบำบัด ชมรมผู้สูงอายุตำบลพรุใน ชมรมผู้สูงอายุตำบลพรุใน ก่อตั้งอย่างเป็นทางการตั้งแต่ปี 2546 ด้วยความมุมานะของคุณสยาม บุญสบหรือที่ชาวบ้านเรียกว่า ป๊ะหมอ ประธานชมรมอดีตสาธารณสุขอำเภอเกาะยาว หลังเกษียรงานราชการ ได้อุทิศตัวให้กับกิจกรรมทางศาสนาและกิจกรรมทางสังคมมาโดยตลอด เป็นที่เคารพนับถือของชาวตำบลพรุในเสมอมา คุณสยาม บุญสบ ได้ชักชวนผู้สูงอายุคนอื่นๆ ในชุมชนกว่า400 คน มาเข้าร่วมเป็นชมรมผู้สูงอายุ จัดตั้งคณะกรรมการและดำเนินกิจกรรมด้วยความเข็มแข็ง มีการประชุมผู้สูงอายุทุกเดือน มีการเดินทางไปศึกษาดูงาน กิจกรรมทางศาสนธรรมของศาสนาอิสลาม กิจกรรมการออกกำลังกาย โดยมีการชุมชุมใหญ่ประจำปีเพื่อแลกเปลี่ยนภูมิปัญญาด้านการดูแลสุขภาพ ปีละ 2 ครั้ง โดยได้รับงบประมาณสนับสนุนจากองค์การบริหารส่วนตำบลพรุใน เครือขายมิตรภาพบำบัด กิจกรรมที่ชมรมผู้สูงอายุได้ดำเนินมาโดยตลอด คือการเยี่ยมเยือนสมาชิกผู้สูงอายุผู้ซึ่งยากไร้หรือทุพพลภาพ ร่วมกับทางศูนย์แพทย์และองค์การบริหารส่วนตำบล สมาชิกชมรมฯ จะรับบริจาคเงินจากเพื่อนสมาชิกด้วยกันเดือนละ 1 ครั้ง กรรมการของชมรมร่วมพิจารณาว่าในแต่ละเดือน จะนำเงินหรือสิ่งของบริจาคดังกล่าวไปมอบให้กับผู้สูงอายุผู้ซึ่งเห็นควรได้รับการบริจาคดังกล่าว “เราต้องดูแลซึ่งกันและกัน” เป็นคำกล่าวของคุณสยาม บุญสบในเย็นวันหนึ่ง ถือเป็นคำกล่าวที่เรียบง่าย แต่สะท้อนถึงปรัญชาและความศรัทธาของชมชมผู้สูงอายุ ซึ่งกิจกรรมมิตรภาพบำบัดถือเป็นตัวอย่างที่เป็นรูปธรรมปรากฏต่อสังคม ปัจจุบัน ทางองค์การบริหารส่วนตำบลเห็นถึงความมุ่งมั่นของชมรมผู้สูงอายุ โดยการเห็นชอบของคุณมนตรี เบ็ญอ้าหมาด นายกองค์การบริหารส่วนตำบลพรุใน ผู้ซึ่งมีบทบาทให้การสนับสนุนงบประมาณให้กับชมรมฯ มาโดยตลอด ได้มอบอาคารหลังที่ทำการ อบตไว้เป็นที่ทำงานของชมรมผู้สูงอายุอีกด้วยโรงพยาบาล 5 เตียง ศูนย์แพทย์ชุมชนพรุใน หรือในอีกชื่อหนึ่งคือโรงพยาบาลเกาะยาวสาขาสถานีอนามัยตำบลพรุใน หรือเดิมคือสถานีอนามัยตำบลพรุใน จะในชื่อไหนก็ตาม การเกิดขึ้นของสถานบริการสาธารณสุขแห่งนี้ก็เพื่อให้การดูแลสุขภาพของชุมชนของชาวเกาะยาวใหญ่ (ตำบลพรุในและตำบลเกาะยาวใหญ่) เพื่อแก้ไขปัญหาความเท่าเทียมในการเข้าถึงบริการสาธารณสุขของชาวชุมชน ปัจจุบันมีแพทย์ประจำ 1 คน พยาบาล 5 คน และเจ้าหน้าที่ทางสาธารณสุขอื่นๆ อีก 2 คน พวกเรารวม 8 คนให้การดูแลทั้งผู้ป่วยทั่วไปและฉุกเฉินตลอด24ชั่วโมง รวมถึงการให้บริการในชุมชนเช่นการเยี่ยมบ้าน และดูแลให้คำปรึกษาในการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังแก่สถานีอนามัยในเครือข่ายสุขภาพได้แก่สถานีอนามัยโล๊ะโป๊ะ และสถานีอนามัยเกาะยาวใหญ่ หลังการยกระดับเป็นโรงพยาบาล สาขาในปี2545 ได้มีการพัฒนาเป็นลำดับ โดยได้รับความร่วมมือจากชาวบ้าน ได้รับบริจาคเครื่องมือแพทย์เช่นเครื่องอัลตราซาวน์และรถพยาบาลจากกาชาดฟินแลนด์ ได้รับการสนับสนุนงบประมาณช่วยเหลือเพิ่มเติมจากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพังงาในยามขาดแคลนงบประมาณ และงบประมาณจากโครงการศูนย์แพทย์ชุมชน สปสชในปี 2550-51 จนมีศักยภาพในการรักษาพยาบาลได้เท่าเทียมกับโรงพยาบาลเกาะยาวชัยพัฒน์ นอกจากให้บริการปฐมภูมิแล้ว ยังสามารถรับผู้ป่วยเป็นผู้ป่วยใน นอนในโรงพยาบาลได้ แม้ว่าจะมีเพียง 5 เตียงก็ตาม ทุกๆครั้งที่มีผู้ป่วยนอนในโรงพยาบาล ญาติผู้ป่วยจำนวนครึ่งร้อยหรือในบางครั้งเป็นร้อยคน เดินทางมาเยี่ยมผู้ป่วยได้โดยสะดวก เป็นภาพชินตาที่เห็นผู้คนจำนวนมากมาอยู่ในโรงพยาบาลเล็กๆ เหมือนมีงานเทศกาลแบบนี้ ความอบอุ่นเช่นนี้หาได้ยาก หากผู้ป่วยต้องไปนอนรักษาที่โรงพยาบาลอื่น ในปัจจุบันอาจกล่าวได้ว่าที่นี่เป็นโรงพยาบาลขนาดเล็กที่สุด ใช้งบประมาณในการเป็นโรงพยาบาลน้อยที่สุด แต่ดูแลผู้ป่วย 10,000 คนได้คุ้มค่า