ไม่มีหมวดหมู่

วิจัย การใช้ศาสตร์การแพทย์โฮมิโอพาธีย์รักษาผู้ป่วยโรคที่มีอาการฉับพลันที่แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลพรุใน

Homeopathy in acute case_PDF
การใช้ศาสตร์การแพทย์โฮมิโอพาธีย์รักษาผู้ป่วยโรคที่มีอาการฉับพลันที่แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลพรุใน

Homeopathy in acute disease at OPD, Prunai Health Promoting Hospital นพ.มารุต เหล็กเพชร นส.หยดฝน โรจน์คำลือ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลพรุใน

บทคัดย่อ ศาสตรการแพทย์โฮมิโอพาธีย์เป็นทางเลือกหนึ่งในการดูแลผู้ป่วยในระบบบริการสาธารณสุข ที่แผนก ผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลพรุในมีการใช้ยาโฮมิโอพาธีย์สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการฉับ พลันตั้งแต่เดือนมกราคม 2555 การวิจัยนี้ศึกษาผลการรักษาผู้ป่วยด้วยโรคที่มีอาการฉับพลันด้วยยาโฮมีโอพาธีย์และสำรวจความพึง พอใจของผู้ป่วยดังกล่าวจำนวน 24 ราย ตั้งแต่เดือนมีนาคม 2555 ถึงเดือนกรกฏาคม 2555 ผลการศึกษาโดยใช้วิธีเปรียบเทียบค่าคะแนนความรุนแรงของอาการโดยผู้ป่วยเป็นผู้ประเมินในวันที่ รับการรักษาวันแรก และวันที่สาม (subjective symptom score) โดยใช้ค่าสถิติ dependent,paired T-Test พบว่าการรักษาโดยวิธีโฮมีโอพาธีย์ทำให้อาการของผู้ป่วยดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ( P <0.05 ) และผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาให้คะแนนความพึงพอใจระดับพอใจมากถึงร้อยละ 80

Homeopathy is an alternative medicine in heath care services,and used in treatment in acute cases in OPD of Prunai Health Promoting Hospital since March 2012. This research was studied on result of that homeopathic treatment and satisfaction survey on 24 acute cases patient during March – July 2012. by comparing of subjective symptom scores,before (day1 as first contact ) and after (day3 as follow-up) ,analysis by dependent,paired T-Test,the results show a significant of homeopathic treatment by approving patient’s subjective symptom score as P <0.05 and 80 % of most satisfy.

คำสำคัญ การแพทย์ศาสตร์โฮมิโอพาธีย์,ค่าคะแนนความรุนแรงของอาการ,โรคที่มีอาการฉับพลัน Keywords Homeopathy, subjective symptom score,acute acute disease

 

CAM in Primary Health care – Patient Centered Medicine


การใช้ศาสตร์การแพทย์โฮมิโอพาธีย์รักษาผู้ป่วยโรคที่มีอาการฉับพลันที่แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลพรุใน

บทคัดย่อ

ศาสตรการแพทย์โฮมิโอพาธีย์เป็นทางเลือกหนึ่งในการดูแลผู้ป่วยในระบบบริการสาธารณสุข ที่แผนก

ผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลพรุในมีการใช้ยาโฮมิโอพาธีย์สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการฉับ

พลันตั้งแต่เดือนมกราคม 2555

การวิจัยนี้ศึกษาผลการรักษาผู้ป่วยด้วยโรคที่มีอาการฉับพลันด้วยยาโฮมีโอพาธีย์และสำรวจความพึง

พอใจของผู้ป่วยดังกล่าวจำนวน 24 ราย ตั้งแต่เดือนมีนาคม 2555 ถึงเดือนกรกฏาคม 2555

ผลการศึกษาโดยใช้วิธีเปรียบเทียบค่าคะแนนความรุนแรงของอาการโดยผู้ป่วยเป็นผู้ประเมินในวันที่

รับการรักษาวันแรก และวันที่สาม (subjective symptom score) โดยใช้ค่าสถิติ dependent,paired

T-Test พบว่าการรักษาโดยวิธีโฮมีโอพาธีย์ทำให้อาการของผู้ป่วยดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ( P <0.05 )

และผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาให้คะแนนความพึงพอใจระดับพอใจมากถึงร้อยละ 80

Homeopathy is an alternative medicine in heath care services,and used in treatment in

acute cases in OPD of Prunai Health Promoting Hospital since March 2012.

This research was studied on result of that homeopathic treatment and satisfaction survey

on 24 acute cases patient during March – July 2012.

by comparing of subjective symptom scores,before (day1 as first contact ) and after (day3

as follow-up) ,analysis by dependent,paired T-Test,the results show a significant of

homeopathic treatment by approving patient’s subjective symptom score as P <0.05

and 80 % of most satisfy.

Research approach
INTERPRETIVISM
As clarified by a number of scholars, interpretivism is a trend of research approach, and it prefers using qualitative methods for data collection. There is a tight connection betweeninterpretivist paradigm and qualitative methodology as one is a methodological approach and one is a means in collecting data.

AMEE 2017 Keynote speaker: Pasi Sahlberg

 เขียนโดย อ.สายพิณ หัตถีรัตน์

AMEE 2017 Keynote speaker: Pasi Sahlberg พูดถึงแพทยศาสตร์ศึกษาเรียนรู้อะไรได้บ้างจากบทเรียนความสำเร็จจากการศึกษาของฟินแลนด์

ตอนเข้าประชุมไม่รู้เลยว่าใครจะมาพูดวันเปิดงาน เพราะไม่สนใจชื่อคน พอเขาแนะนำวิทยากรบนเวที ถึงกับดีใจขนลุกว่า เอ๊ย คนที่เราอ่านหนังสือเขานี่เอง ปาซีขึ้นเวทีด้วยเสื้อยืดกางเกงธรรมดา รองเท้าผ้าใบ ใส่สูททับแค่นั้น ไม่เหมือนผู้บริหารการศึกษาระดับประเทศ ไม่เหมือน CEO ธนาคารโลก

ปาซีเริ่มการพูดได้น่าสนใจ ทำความเป็นกันเองกับผู้ชมด้วยการแจกหนังสือให้ผู้โชคดีที่มีวันเกิดวันนี้ ให้ทุกคนร้องเพลงวันเกิดฉลองให้ จากนั้นให้ลองเล่น brain game แค่บวกเลขระดับประถมแบบอ่านออกเสียงดังๆเร็วๆ จากนั้นเขาถามว่าเมื่อกี้ใครได้ผลลัพธ์เป็น 5000 บ้าง มีหลายนยกมือ จนเราแปลกใจว่าเอ๊ะ ได้ไงวะ หรือเราควรได้ 5000 ชักงงตัวเอง

แต่คำตอบคือ เห็นมั้ย แค่เขาชวนให้คำนวณง่ายๆแบบรีบๆ แล้วก็รีบถามให้เชื่อว่าจะได้ 5000 คนก็เชื่อ เพราะไม่มีเวลาคิด ผู้บริหารนโยบายต่างๆก็เช่นกัน ไม่มีเวลาหยุดคิดและเรียนรู้ นโยบายต่างๆจึงเกิดแบบรีบๆ ให้เชื่อว่าดีก็ดีตามนั้น จึงเกิดการเปลียนนโยบายบ่อย อย่างบางทีโดนแซวว่าเปลี่ยนนโยบายทุกวันจันทร์ ความรีบเร่งไม่ได้ทำให้เกิดการเรียนรู้ เรียนรู้ได้ต้องช้าลง ต้องมีเวลา มนุษย์จึงจะเรียนรู้ ความรีบเร่งทำให้ไม่มีเวลานึกคิดไตร่ตรอง ไม่ได้เรียน การเรียนต้องช้า ในโลกปัจจุบัน เรารีบเร่งไปหมด แข่งขันกันมากมาย เราเชื่อว่าการแข่งขันทำให้ได้ผลผลิตที่ดี แต่นั่นคือความเชื่อ

เราคาดหวังให้เด็กรุ่นใหม่ทำอะไรมากเกินไป ต้องทำอะไรให้ได้ตั้งหลายอย่าง และต้องรวดเร็วด้วย เหมือนการดูแลรถ Formula-1 ในสนาม มันจะรีบอะไรขนาดนั้น ในฟินแลนด์เราไม่ทำแบบนั้นในโรงเรียน เราเรียนกันแบบช้าๆ ไม่เร่งรีบ มันต้องช้าลง มนุษย์ถึงจะได้เรียนรู้ ถึงจะมีเวลาหยุดคิดและเรียนรู้ อย่าอยู่ในห้องเรียนนานวันละ 6-8 ชั่วโมง ให้ออกไปพักเบรกเล่นกับเพื่อนนานขึ้นและบ่อยขึ้น มนุษย์เรียนรู้ผ่านการเล่น The power of play และพูดคุยเล่นกับเพื่อน

ระบบการศึกษาที่ไม่สำเร็จ เพราะมีลักษณะ 5 ประการทีเป็น GERM เชื้อโรคที่ระบาดไปทั่วโลก ได้แก่
1. Competition ระบบการแข่งขัน แข่งกันระหว่างโรงเรียน แข่งกันระหว่างนักเรียน
2. Test-based accountability ระบบการวัดผลการเรียนรู้ของคนด้วยการสอบ
3. De-professionalisation การไม่เชื่อในศักยภาพวิชาชีพครู
4. Addicted to reform การเสพติดการปฏิรูป เอะอะอะไรจะปฏิรูป คือไม่เอาของเดิม แต่จะเปลี่ยนใหม่ตลอดเวลา
5. Choice

ระบบการศึกษาฟินนิชที่ประสบความสำเร็จ มีลักษณะคือ
1. Collaboration ความร่วมมือขององค์กรและคนต่างๆเพื่อให้เด็กๆได้เรียนรู้ดีขึ้น เราไม่แข่งกัน เราช่วยกัน ร่วมมือกัน
2. Trust-based responsibility ไว้เนื้อเชื่อใจกัน เชื่อว่าคนเราเติบโตเรียนรู้ได้ เชื่อว่าคนจะทำหน้าที่ของตนเองได้ดี เชื่อในครูทุกคน ไม่ใช่ผู้บริหาร
3. Teacher professionalism ครูมีความเป็นวิชาชีพ เหมือนหมอเหมือนพยาบาล ต้องให้ครูมีระดับการศึกษาสูง อย่างน้อยปริญญาโท แม้แต่ครูอนุบาล ประถม
4. System improvement เน้นพัฒนาระบบ ไม่ใช่ปฏิรูประบบ
5. Equity ความเสมอภาคเท่าเทียม ไม่ใช่ Equality แจกเท่าๆกัน แต่ต้องดูปูมหลังทางสังคมครอบครัวของนักเรียนเป็นรายคน แล้วจัดการเรียนรู้ให้เฉพาะตัว ให้เขามีโอกาสทัดเทียมกับคนอื่นๆ โอกาสในการเรียนได้เต็มที่ เรียนให้เขาพัฒนาไปอย่างที่เขาเป็นบุคคล

ประเทศที่ระบบการศึกษาดี ดูที่ผลลัพธ์คือนักเรียนได้คะแนนการเรียนรู้ดีอย่างเสมอภาค จากการสำรวจของ OECD ฟินแลนด์ แคนาดา ญี่ปุ่น เอสโตเนีย อยู่ในกลุ่มประเทศที่มีความเสมอภาคของนักเรียนสูงและผลการเรียนดีที่สุด ประเทศที่พัฒนาการแข่งขันระหว่างนักเรียน ระหว่างโรงเรียน ประเทศที่ไม่มีความเสมอภาคทางสังคมการเมือง ผลการเรียนรู้ของคนในประเทศนั้นจะไม่ดี ประเทศนอร์ดิกมีความเข้มแข็งที่น่าสนใจคือจากประวัติศาสตร์การเมืองที่ผ่านมา มีผู้หญิงอยู่ในระบบการเมือง การปกครองเป็นจำนวนมาก บ่งบอกการให้อำนาจที่เท่าเทียมกันระหว่างเพศ ระบบการปกครองที่มีผู้หญิงอยู่จำนวนมาก ทำให้สุขภาพและคุณภาพชีวิตดีขึ้น ระบบการศึกษาจึงดีขึ้น

การแข่งขัน การสอบมาตรฐาน การเร่งรีบ การเรียนในห้อง ไม่ได้ทำให้คนเรียนรู้ คนต้องใช้เวลา ต้องช้าลงจึงรู้คิด จึงเรียนรู้และเติบโตได้ พัฒนาตนเองขึ้นได้ ถ้าอยากให้คนพัฒนา ให้มีเวลาไปกินไอติมเยอะๆ (ให้มีเวลาพักผ่อนหย่อนใจ) คนเรียนรู้ได้จากการเล่น The power of play และแลกเปลี่ยนกัน คุยกันระหว่างการพัก

มนุษย์เรียนรู้จากกันและกัน ต้องให้เวลากัน ให้แรงบันดาลใจกับคนอื่น แล้วคุณจะได้แรงบันดาลใจจากคนอื่นกลับมา นั่นคือที่มาของการเรียนรู้

ข้อสรุปคือ
1. คุณภาพการศึกษาจะได้มาต้องมีความเสมอภาคเท่าเทียม
2. ต้องลงทุนกับโครงสร้างทางสังคม และปูมหลังทางสังคม
3. สอนด้วยเรือ่งราว เรื่องเล่า เรื่องเล็กๆที่เกี่ยวกับเขา ไม่ใช่เรื่องอื่นที่ไกลตัว ที่เขาไม่ได้ใช้

 

TEAM Transformative Learning

team.pdf

          PROACTIVE TEAM BUILDING

 

 

       R2L
Routine to learning

          lesson learn
  1  การเปิดโอกาสให้ชุมชนมีส่วนร่วมตั้งแต่แรก อาจได้สิ่งที่ดีกว่าที่คาดหมาย (สุภาพร ส.)
สะท้อน  ประเด็น change in power   / change in hierarchy
2   ประสบความสำเร็จในการเยี่ยมบ้าน เคส stroke  hemiplegia  สามารถฟิ้นฟูจากบนติดเตียงจนเดิน freehand ได้ในบ้าน   เพราะมีการ empowerment ชุมชน  ทำ care plan ในการกายภาพบำบัดร่วมกับแพทย์พื้นบ้าน (นูรอัยนีย์)
3    การเรียนรู้จากความไม่รุ้  นำทีมไปเรียนรู้เพื่อจะเห็นความจริงตรงหน้า ความจริงที่รวมเอาสิ่งที่วัดได้ด้วยปริมาณ และความรู้สึกนึกคิด สิ่งที่สัมผัสได้กับจิตใจ
4  ระหว่างที่ทำ PCC พบว่า การใช้เทคนิค   AIC + (Motivational interview) ในการทำงาน Health Need Assessment

MI
เปิดดวงใจ      ไขปัญหา          อย่าทะเลาะ               เกาะแรงต้าน         ผสานความมั่นใจ
express             develop           avoid                           role of                          support
empathy       discrepancy       argumentation      resistance                self  efficacy

discrepancy   ความขัดแย้ง   ภาพที่เป็นความหวัง  ความฝัน –  ความเป็นจริง